Date : 5 - 9 May 2010
Venue : Phaya Thaen Park, Mueang District, Yasothon
The underlying logic and science behind the famous rocket festival, scheduled for 5 to 9 May, in the unassuming northeast town of Yasothon, is not to be found in a chemistry laboratory.
While the rocket owners pack as much as 25 kg of black powder into plastic or bamboo pipes to give their homemade missiles take off, the blueprints for this exceptionally noisy festival are traced in the mystical skies ruled by gods. Approaching rain clouds signal the start of the rice planting season, but according to northeastern folklore the first raindrops fall only when the gods are in the mood for love. They need encouragement hence the importance of the Bun Bang Fai, or rocket festival, to stir the mythical community, resident in the heavens, to bless earth with fertility and rain.
One mother of all rockets shoots high into the sky possibly for a kilometre or more stimulating the gods to action. Its vapour trail and height is seen as an omen. The higher it goes, the more rain will fall on the northeast plateau bringing good fortune and a bumper rice harvest.
None of these lofty goals prevent Yasothon’s residents and thousands of visitors from the more earthly pleasures of merry making associated with their homemade rockets.
All sizes and shapes are built around a simple plastic or bamboo pipe packed solid with black powder and fuses. They can be up to 10 metres, or more, in length, as long as they are capable of powering into the skies at blast off. Anything short of that spectacle prompts a chorus of laughter from the crowd and even a few missiles of mud aimed at the head of the hapless rocket owner.
While the rockets compete, the crowd is entertained with comedy, often bawdy with a smattering of dirty jokes and raucous country music. It’s a genuine farming community excuse to have fun and get the planting season off to a good start.
Accidents are few and far between, but as the beer and rice whisky flows, missiles may stutter, wobble or even do some low flying antics over the tents and entertainment stages.
Rocket festivals are held throughout the region and in neighbouring Laos, but Yasothon residents, noted for their sense of humour, inspire an event that draws international visitors attracted by a hilarious three-day party. It embodies I-san’s ability to rise above the hardships of tilling the land.
Ironically, at any other time of the year, Yasothon is a sleepy northeast town that hardly warrants a second glance. Rarely visited by tourists, it is overshadowed by its neighbour Ubon Ratchathani, 98 km to the southeast. Considered the prime tourism gateway to the lower I-san region, Ubon Ratchathani’s airport is served by both the national airline, Thai Airways International, and low-cost airlines. It is possible to hire a car at the airport and drive northwest on Highway 23 to Yasothon.
The town’s hotels are full during this short festival and hotels will double their rates to cash in on the festival’s popularity. There are also hotels in Roi-et, 60 km northwest of Yasothon, while some visitors may decide to stay in Ubon and embark on a daytrip returning after sunset.
Contact :
TAT Ubon Ratchathani Office Tel : 66(0)4524 3770-1, 66(0)4525 0714
Yasothon Municipality Office Tel : 66(0)4571 1397 Ext. : 112
บุญบั้งไฟ เป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสาน นิยมทำกันในเดือน 6 หรือเดือน 7 ซึ่งจะตกในราวเดือนพฤษภาคม อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่านไถ เพื่อเป็นการบูชาพญาแถน ขอให้ฝนตกก้องตามฤดูกาลเหมือนกับการแห่นางแมวของคนภาคกลาง
คำอธิบายเกี่ยวกับประเพณีบุญบั้งไฟ รวมทั้งความคิดเห็นของคนทั้วไปมักกล่าวถึงความสำคัญของบุญบั้งไฟกับวิถี ชีวิตของคนอีสานในฐานะพิธีกรรมแห่งความสมบูรณ์ และมีความเกี่ยวเนื่องกับ ตำนาน นิทานปรัมปราพื้นบ้าน เช่น เรื่องเท้าผาแดง - นางไอ่ ตำนานรักสามเส้าของเท้าผาแดง นางไอ่และท้าวพังคีพญานาค ที่มีการแข่งขันจุดบั้งไฟเพื่อแย่งชิงนางไอ่ จนกลายเป็นสงครามสู้รบและมีอภินิหารเล่าลือกันมาหมาย เรื่องพญาคันคากหรือคางคกยกรบขอฝนจากแถนบนฟ้า พญาแถนรบแพ้พญาคันคากจึงยอมให้ฝนแก่โลกแต่มีข้อแม้ว่าหากพญาคันคากต้องการฝน เมื่อใดก็ให้บอกพญาแถนด้วยการจุดบั้งไฟขึ้นไปบนฟ้า หรืออีกตำนานที่เล่าว่าพระพรหมกับพญานาคเป็นเพื่อนรักกัน พระพรหมอยู่บนสวรรค์พญานาคอยู่ใต้บาดาล อยากจะรู้สารทุกข์สุขดิบกันก็ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงตกลงกันว่า เมื่อใดที่พญานาคอยู่ดีมีสุขให้พญานาคจุดบั้งไฟไปบอกข่าวและพระพรหมจะส่งฝน ตกลงมาบนพื้นโลกเป็นการตอบรับพญานาค ดังที่ได้กล่าวมา วัตถุประสงค์หลักของบุญบั้งไฟ ก็คือ "การขอฝน" เชื่อกันว่าหากท้องถิ่นใดละเลยไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ก็อาจจะก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่คนในชุมชน เว้นเสียแต่ต้องทำพิธีขอเลื่อนการจัดที่ศาลปู่ตา (ศาลผีบรรษพบุรุษหรือเทพารักษ์)ของหมู่บ้านเสียก่อน
ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของพิธีบุญบั้งไฟอีสานในอดีตจน กระทั่งปัจจุบันคือ การละเล่นที่มักเต็มไปด้วยสื่อสัญลักษณ์ทางเพศและเพศสัมพันธ์ เช่น อวัยวะเพศชาย (บักแป้น, ขุนเพ็ด) อวัยวะเพศหญิงจำลอง ตุ๊กตาชาย - หญิง ในท่าร่วมเพศ ตุ๊กตารูปสัตว์ (โดยมากมักจะทำเป็นรูปลิง) ในท่าร่วมเพศ รวมทั้งการแสดงออกของผู้คนในขณะร่วมงานบุญบั้งไฟนั้น เห็นได้ชัดว่ามีความเชื่อในเรื่องฟ้าดินโดยที่ฟ้าเป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย ดินเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างฟ้าดินคือฝนที่โปรยปรายลงมาสู่ดินก่อให้เกิดความเจริญ เติบโตงอกงามของพืชพันธุ์ธัญญาหารแก่โลกมนุษย์ เพื่อเป็นการเตือนฟ้าดินมิให้ลืมหน้าที่ มนุษย์จึงใช้อุบายคือ การละเล่นเกี่ยวกับเพศมาเป็นส่วนประกอบในงานบุญบั้งไฟ ทั้งนี้รวมไปถึงการใช้คำเซิ้งที่ใช้ในการ "เซิ้งบั้งไฟ" ที่มักมีคำหยาบปะปนอยู่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ซึ่งจะพบในงานบุญบั้งไฟทุกแห่ง อย่างไรก็ตาม การแสดงออกในสัญลักษณ์เชิงเพศที่ปรากฎในงานบุญบั้งไฟดูเหมือนจะถูกจำกัดลง เมื่อเทศกาลงานประเพณีดังกล่าวได้ถูกเปิดตัวสู่การกลายเป็นประเพณีเพื่อตอบ สนองต่อการท่องเที่ยวนอกจากนี้ความน่าสนใจของเนื้อหาสาระของประเพณีบุญบั้งไฟ ยังอยู่ที่ภาพสะท้อนการผสมผสานระหว่างคติความเชื่อฝ่ายพุทธ กับแนวความคิดในแบบสังคมแบบพุทธกาล (ก่อนรับพุทธศาสนา) เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ แม้ว่าบุญบั้งไฟแต่เดิมอาจจะไม่ใช่ประเพณีในพระพุทธศาสนา แต่ทว่า ชาวไท - ลาว ได้ทำให้งานบุญนี้เลื่อนไหลเข้ามาอยู่ในบริบทของพุทธศาสนาอย่างชัดเจนมาก ขึ้น เช่น การเชิญมาร่วมงานก็ถือว่าเป็นการทำบุญ ตลอดจนมีตำนานที่เล่าถึงต้นกำเนิดของพิธีกรรมนี้ว่ามาจากการที่สาวกองค์ หนึ่งพุ่งคบเพลิงไปถวายพระเพลิงพระพุทธองค์เนื่องจากเข้าไม่ถึงที่ถวายพระ เพลิงศพ นอกจากนี้วัดยังเป็นแหล่งกลางของกิจกรรมในงานบุญ นับตั้งแต่การเตรียมบั้งไฟ ไปจนถึงการเล่นสนุก อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาแทรกเข้าไปเป็น ส่วนหนึ่งของบุญบั้งไฟหลายอย่างเช่น การบวชและการ "ฮดสงฆ์" หรืออภิเษกสมณศักดิ์ให้แก่พระภิกษุ เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาว่าบุญบั้งไฟเป็นประเพณีที่ทำกันทั้วไปในภาคอีสานปัจจุบัน
ปัจจุบันงานบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร มีกำหนดจัดขึ้นในช่วงราวกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยมีกิจกรรมหลักคือ บั้งไฟที่มีการประกวดประชัน บั้งไฟทั้งบั้งไฟขึ้นสูง บั้งไฟสวยงาม (บั้งเอ้หรือบั้งไฟประดับที่ไม่สามารถจุดได้จริง) บั้งไฟโบราณ นอกจากนี้ยังมีการประกวดกาพย์เซิ้งบั้งไฟ ประกวดธิดาบั้งไฟโก้ นักท่องเที่ยวสามารถชมขบวนแห่เหศักดิ์ ขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม ขบวนแห่บั้งไฟโบราณ ตลอดขบวนแห่มีการเซิ้งของแต่ละคุ้มวัดที่ส่งบั้งไฟเข้าประกวด ทั้งนี้งานบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร ได้รับการส่งเสริมได้รับการส่งเสริมในระดับที่มีการถ่ายทอดสดทางสถานี โทรทัศน์ ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมมหรสพรื่นเริง เช่น เวทีคอนเสิร์ต หมอลำ การจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และสินค้าทั้วไปบริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร และโรงเรียนเทศบาล 1 และสวนสนุกในลักษณะงานวัด อ้างอิง : www.tourismthai.org