วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Rayong Funky Fruit Festival

We welcome all to the brand new "Rayong Funky Fruit Festival"-a borderless celebration of heritage, nature & culture in this stunning province of Rayong. We celebrate Rayong's natural gifts with "StarFruit", an exhibition and promotion of Rayong's great agricultural tradition as well as "Rayong in Pictures". The heritage & peoples of Rayong are given new life in Live Poetry in the "Suntorn Pu Lives!" performances as well as "the Originals"-musical performance by artists from the original peoples of Thailand's East - the Khmers, the Tai, even the rare Chong peoples. To this festival of great food, culture and exhibition we add a full-blown Funky Fruit Musiq Festival featuring the Best of Thai Musiq & our own original World Musiq recipes...

Come join the Funk 'n Fun right here in Rayong. Call us at 0 2733 2709 for details or email us at toddeastwest@yahoo.com

for a full schedule of shows and activities, go to toddeastwest.com or call Jeep at 08 9666 1184 Funky Fruit & Culture-Rayong Rocks He!

Rayong Funky Fruit Festival
Date : May 2010
Venut : Rayong City

จังหวัดระยองร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง องค์การบริหารส่วนตำบลตะพง หน่วยงานราชการและองค์กรภาคเอกชน กำหนดจัดงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง ประจำปี 2553 ณ บริเวณตลาดกลางผลไม้ตะพง ตำบลตะพง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ตั้งแต่วันที่ 14-18 พฤษภาคม 2553 บรรยากาศงานเทศกาลผลไม้ "สีสันระยอง" มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม 2553
08.00-09.00 น. "เทศกาลพิธีตักบาตรผลไม้ครั้งแรกของโลก" จังหวัดระยองสนับสนุนวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของชาวพุทธ โดยการจัดพิธีตักบาตรผลไม้ พระสงฆ์จำนวน 199 รูป เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศร่วมกิจกรรมดีๆ เช่นนี้ในทุกปี
13.00-14.00 น. เปิดตลาดผลไม้ สดจากสวน ให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อผลไม้ของดีเมืองระยอง ในราคาถูก
15.00-16.00 น. กรรมการตัดสินการประกวดซุ้มผลไม้ของอำเภอ 8 อำเภอ โดยแต่ละอำเภอจะนำสุดยอดผลไม้อำเภอตนเองมาตกแต่งประดับประดาให้มีความสวยงาม
16.00-17.00 น. การประกวดกระเช้าผลไม้แฟนซี โดยผลไม้ที่ใช้จัดกระเช้าเป็นผลไม้ของจังหวัดระยองเท่านั้นและจะเป็นการจัด กระเช้าภายใต้แนวคิด "Fruit Paradise"
17.00-17.30 น. การแข่งขันกินผลไม้
17.30-19.00 น. การแสดงวัฒนธรรมจังหวัดระยอง
19.00-19.30 น. พิธีเปิดงานด้วยความประทับใจและยิ่งใหญ่ของเทศกาลผลไม้ แสดงความตื่นตาตื่นใจ ด้วยเอฟเฟค ซึ่งจะนำเสนอผ่านฉากสัญลักษณ์บนเวทีและ Landmark ภายในงาน สิ้นสุดลงด้วยพลุที่จะถูกยิงสว่างไสว และจบลงด้วยการถ่ายภาพ Fondue ผลไม้
19.30-21.30 น. คอนเสิร์ตของรุจ เดอะสตาร์/การแสดงตลก/คอนเสิร์ตของ จิ้งหรีดขาว วงศ์เทวัญ

วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2553
13.00-14.00 น. เปิดตลาดผลไม้ สดจากสวน ให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อผลไม้ของดีเมืองระยอง ในราคาถูก
15.00-17.00 น. กีฬาจังหวัด การแข่งขันกีฬา 8 อำเภอ เพื่อสร้างความสามัคคี
17.00-17.30 น. การแข่งขันกินผลไม้
17.30-18.00 น. การแสดงวัฒนธรรมจังหวัดระยอง
18.00-19.30 น. การประกวด Rayong Lady Fruit กิจกรรมการประกวดสาวประเภทสอง
19.30-21.30 น. คอนเสิร์ตของ อาภาพร นครสวรรค์/การแสดงตลก/คอนเสิร์ตของวงโซคูล

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม 2553
13.00-14.00 น. เปิดตลาดผลไม้ สดจากสวน ให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อผลไม้ของดีเมืองระยอง ในราคาถูก
15.00-16.00 น. การแสดงดนตรีจากสถาบันการศึกษาในจังหวัดระยอง
16.00-17.00 น. การแข่งขันกินผลไม้วิบาก
17.00-17.30 น. การแข่งขันโดดงับผลไม้
17.30-18.00 น. การแสดงวัฒนธรรมจังหวัดระยอง
18.00-19.30 น. การประกวดสาวงามบ้านสวน กิจกรรมการประกวดประจำเทศกาลผลไม้ ประจำปี 2553
19.30-21.30 น. คอนเสิร์ตของ สาวมาด เมกะแด๊นซ์/การแสดงตลก/คอนเสิร์ตของ โจอี้ บอย

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม 2553
13.00-14.00 น. เปิดตลาดผลไม้ สดจากสวน ให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อผลไม้ของดีเมืองระยอง ในราคาถูก
16.00-16.30 น. การแข่งขันกินผลไม้วิบาก
17.00-17.30 น. การแข่งขันโดดงับผลไม้
17.30-19.00 น. การแสดงจังหวัดระยอง
19.00-21.00 น. คอนเสิร์ตของ บิว กัลยาณี/การแสดงตลก/คอนเสิร์ตของวงพาราดอกซ์

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม 2553
13.00-14.00 น. เปิดตลาดผลไม้ สดจากสวน ให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อผลไม้ของดีเมืองระยอง ในราคาถูก
16.00-16.30 น. การแข่งขันกินผลไม้วิบาก
17.00-17.30 น. การแข่งขันโดดงับผลไม้
17.30-18.30 น. การแสดงจังหวัดระยอง
18.45-19.00 น. ออกสลากกินแบ่งผลไม้ รางวัลใหญ่
19.00-21.00 น. คอนเสิร์ตของ กระแต กระต่าย/การแสดงตลก/คอนเสิร์ตของแมงปอ ชลธิชา อ้างอิง : www.rayong.go.th

World’s Durian Festival

Decorations of fruits trays of government and private sectors, Trade Fair of Housewives, Local OTOP Food Fair, Fruit Decoration Caravan, Fruit and Processed Products Contest, Good Quality Jewelry and Accessories Fair

For fature information :
Office of Administration, Chanthaburi, Tel. 0 3931 1001
TAT Rayong, Tel. 0 3865 5420-1


World’s Durian Festival
Date : May 2010
Venue :
Chanthaburi

งานมหกรรมทุเรียนโลก จันทบุรี ปี 2553
วันที่ 1-9 พฤษภาคม 2553
ณ บริเวณรอบสวนสาธารณะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ทะเลสาบทุ่งนาเชย) อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

พิธีเปิดงานวันที่ 2 พฤษภาคม 2553 ณ เวทีหน้าศาลากลางเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถนนเทศบาล 3 อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

ภายในงานมีกิจกรรมดังนี้

1. การประกวดผลไม้ ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร และการแข่งขันทางการเกษตร บริเวณถนนผลไม้ (ถนนเทศบาล 3)
2. การประกวดแพประดับผลไม้ บริเวณทะเลสาบทุ่งนาเชยฝั่งหน้าโรงพยาบาลพระปกเกล้า เริ่มตั้งแต่สี่แยกสำนักงานที่ดินจังหวัดจันทบุรีถึงสามเหลี่ยมทุ่งนาเชย จัดแสดงให้ชมตลอดงาน
3. กิจกรรมด้านวัฒนธรรมไทย จีน เวียดนาม ประกอบด้วยการแสดงถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่และอาหารของทั้ง 3 ชนชาติที่เข้ามาอยู่ในจังหวัดจันทบุรีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
4. การจัดนิทรรศการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชม ชิม ผลไม้ การสาธิตการกวนทุเรียน การจำหน่ายส้มตำทุเรียน ก๋วยเตี๋ยวผัดปู การแสดงและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร
5. การประกวดธิดาชาวสวนปี 2553 ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2553
6. การจัดกิจกรรมถนนผลไม้ อันประกอบด้วยการออกร้านของกลุ่มแม่บ้านและเกษตรกร การจัดแสดงและจำหน่ายทุเรียนคุณภาพส่งออก
7. ออกร้าน "ยืนซด Road Side" บริเวณริมทะเลสาบทุ่งนาเชย ตรงข้ามสนามบาสเก็ตบอลสนามสามเหลี่ยมทุ่งนาเชย จัดให้มีการจำหน่ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ราคาย่อมเยา เป็นประจำทุกวัน
8. การแข่งขันกิจกรรมกีฬาทางน้ำ บริเวณทะเลสาบทุ่งนาเชยได้แก่ การแข่งขันพายเรือ ชักเย่อเรือ พายกะทะ มวยทะเล เรือคายัค เรือล่องแก่ง หัวใบ้ท้ายบอด แย้ลงน้ำ และกล่อมซุง
9. สนามซ้อมกัดปลาเข็ม บริเวณสนามหญ้าตรงข้ามสนามบาสเก็ตบอล (ริมทะเลสาบทุ่งนาเชย) โดยจัดให้มีการซ้อมกัดปลาเข็มโดยไม่เล่นการพนัน
10. คาราวานสินค้า มหรสพ และการแสดงที่หลากหลายภายในงานเป็นประจำทุกวัน อ้างอิง www.chanthaburi.go.th

Visakha Bucha Day



Decorated processions on Visakha Bucha Day of government and private working units and exhibition about Visakha Bucha Day, contest of flower bush Trays, Contest of Soraphanya Reciting

Vesak 2010
Date : 24 - 28
May 2010
Venue : Sanam Luang, Phranakhon District, Bangkok

วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือราวเดือนพฤษภาคม แต่หากตรงกับปีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๗ หรือราวเดือนมิถุนายน

วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า “วิสาข ปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (คือเดือน ๖) ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ๓ ประการ ในวันวิสาขบูชา ดังนี้

ประสูติ

๑. เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด) สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า

ตรัสรู้

๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...
ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา

ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์

ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป

ปรินิพพาน
๓. เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป) การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีป ของโลก เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลด เสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น

วันวิสาขบูชา จึงนับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระองค์ ที่มีต่อปวงมนุษย์และสรรพสัตว์อันหาที่สุดมิได้

การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา จุดมุ่งหมายในการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา เพื่อรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณพระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง ๓ ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ

พุทธกิจ ๕ ประการ
๑. ตอนเช้า เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ คือเสด็จไปโปรดจริง เพราะทรงพิจารณาเห็นตอนจวนสว่างแล้ว ว่าวันนี้มีใครบ้างที่ควรไปโปรดทรงสนทนา หรือแสดงธรรมให้ละความเห็นผิดบ้าง เป็นต้น
๒. ตอนบ่าย ทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนที่มาเฝ้า ณ ที่ประทับ ซึ่งปรากฏว่าไม่วาพระองค์จะประทับอยู่ที่ใด ประชาชนทุกหมู่ทุกเหล่าตลอดถึง ผู้ปกครอง นครแคว้นจะชวนกันมาเฝ้าเพื่อสดับตับพระธรรมเทศนาทุกวันมิได้ขาด
๓. ตอนเย็น ทรงเเสดงโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งมวลที่อยู่ประจำ ณ สถานที่นั้นบางวันก็มีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบด้วยเป็นจำนวนมาก
๔. ตอนเที่ยงคืน ทรงแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาเทวดา หมายถึง เทพพวกต่างๆ หรือกษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพ ผู้สงสัยในปัญญาและปัญหาธรรม
๕. ตอนเช้ามืด จนสว่าง ทรงพิจารณาสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยที่พระองค์จะเสด็จไปโปรดได้ แล้วเสด็จไปโปรดโดยการไปบิณฑบาตดังกล่าวแล้วในข้อ ๑

โดยนัยดังกล่าวมานี้พระพุทธองค์ทรงมีเวลาว่าอยู่เพียงเล็กน้อยตอนเช้าหลัง เสวยอาหารเช้าแล้ว แต่ก็เป็นเวลาที่ต้องทรงต้อนรับอาคันตุกะ ผู้มาเยือนอยู่เนืองๆ เสวยน้อย บรรทมน้อย แต่ทรงบำเพ็ญพุทธกิจมาก ตลอดเวลา ๔๕ พรรษานั้นเอง ประชาชนชาวโลกระลึกถึงพระคุณของพระองค์ดังกล่าวมาโดยย่อนี้ จึงถือเอาวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระองค์เป็นวันสำคัญ จัดพิธีวิสาขบูชาขึ้นในทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา

ธรรมเนียมการปฏิบัติในวันวิสาขบูชา

เมื่อวันวิสาขบูชาเวียนมาถึงในรอบปี พุทธศาสนาชนไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต (พระสงฆ์ สามเณร) หรือ ฆราวาส (ผู้ครองเรือน) ทั่วไป จะร่วมกันประกอบพิธีเป็นการพิเศษทำการสักการบูชาเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณา พระปัญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นดวงประทีปโลก เมื่อวันวิสาขบูชา ซึ่งตรงในวันเดียวกัน ได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบปี คือ เวียนมาบรรจบในวันเพ็ญวิสาขบูชา กลางเดือน ๖ ประมาณเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายนของไทยเรา ชาวพุทธทั่วโลกจึงประกอบพิธีสักการบูชา การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา แบ่งออกเป็น ๓ พิธี คือ
๑.พิธีหลวง (พระราชพิธี)
๒.พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
๓.พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้)

การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันวิสาขบูชา ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกอบพิธีในวันมาฆบูชา
๑. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
๓. ไปเวียนเทียน ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
๔. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชา
๕. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
อ้างอิง : www.tourismthailand.com

Yasothon Bun Bangfai Rocket Festival

Yasothon Bun Bangfai Rocket Festival
Date : 5 - 9 May 2010
Venue : Phaya Thaen Park, Mueang District, Yasothon

The underlying logic and science behind the famous rocket festival, scheduled for 5 to 9 May, in the unassuming northeast town of Yasothon, is not to be found in a chemistry laboratory.

While the rocket owners pack as much as 25 kg of black powder into plastic or bamboo pipes to give their homemade missiles take off, the blueprints for this exceptionally noisy festival are traced in the mystical skies ruled by gods. Approaching rain clouds signal the start of the rice planting season, but according to northeastern folklore the first raindrops fall only when the gods are in the mood for love. They need encouragement hence the importance of the Bun Bang Fai, or rocket festival, to stir the mythical community, resident in the heavens, to bless earth with fertility and rain.
One mother of all rockets shoots high into the sky possibly for a kilometre or more stimulating the gods to action. Its vapour trail and height is seen as an omen. The higher it goes, the more rain will fall on the northeast plateau bringing good fortune and a bumper rice harvest.

None of these lofty goals prevent Yasothon’s residents and thousands of visitors from the more earthly pleasures of merry making associated with their homemade rockets.

All sizes and shapes are built around a simple plastic or bamboo pipe packed solid with black powder and fuses. They can be up to 10 metres, or more, in length, as long as they are capable of powering into the skies at blast off. Anything short of that spectacle prompts a chorus of laughter from the crowd and even a few missiles of mud aimed at the head of the hapless rocket owner.
While the rockets compete, the crowd is entertained with comedy, often bawdy with a smattering of dirty jokes and raucous country music. It’s a genuine farming community excuse to have fun and get the planting season off to a good start.

Accidents are few and far between, but as the beer and rice whisky flows, missiles may stutter, wobble or even do some low flying antics over the tents and entertainment stages.
Rocket festivals are held throughout the region and in neighbouring Laos, but Yasothon residents, noted for their sense of humour, inspire an event that draws international visitors attracted by a hilarious three-day party. It embodies I-san’s ability to rise above the hardships of tilling the land.
Ironically, at any other time of the year, Yasothon is a sleepy northeast town that hardly warrants a second glance. Rarely visited by tourists, it is overshadowed by its neighbour Ubon Ratchathani, 98 km to the southeast. Considered the prime tourism gateway to the lower I-san region, Ubon Ratchathani’s airport is served by both the national airline, Thai Airways International, and low-cost airlines. It is possible to hire a car at the airport and drive northwest on Highway 23 to Yasothon.

The town’s hotels are full during this short festival and hotels will double their rates to cash in on the festival’s popularity. There are also hotels in Roi-et, 60 km northwest of Yasothon, while some visitors may decide to stay in Ubon and embark on a daytrip returning after sunset.
Contact :
TAT Ubon Ratchathani Office Tel : 66(0)4524 3770-1, 66(0)4525 0714
Yasothon Municipality Office Tel : 66(0)4571 1397 Ext. : 112

บุญบั้งไฟ
เป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสาน นิยมทำกันในเดือน 6 หรือเดือน 7 ซึ่งจะตกในราวเดือนพฤษภาคม อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่านไถ เพื่อเป็นการบูชาพญาแถน ขอให้ฝนตกก้องตามฤดูกาลเหมือนกับการแห่นางแมวของคนภาคกลาง

คำอธิบายเกี่ยวกับประเพณีบุญบั้งไฟ รวมทั้งความคิดเห็นของคนทั้วไปมักกล่าวถึงความสำคัญของบุญบั้งไฟกับวิถี ชีวิตของคนอีสานในฐานะพิธีกรรมแห่งความสมบูรณ์ และมีความเกี่ยวเนื่องกับ ตำนาน นิทานปรัมปราพื้นบ้าน เช่น เรื่องเท้าผาแดง - นางไอ่ ตำนานรักสามเส้าของเท้าผาแดง นางไอ่และท้าวพังคีพญานาค ที่มีการแข่งขันจุดบั้งไฟเพื่อแย่งชิงนางไอ่ จนกลายเป็นสงครามสู้รบและมีอภินิหารเล่าลือกันมาหมาย เรื่องพญาคันคากหรือคางคกยกรบขอฝนจากแถนบนฟ้า พญาแถนรบแพ้พญาคันคากจึงยอมให้ฝนแก่โลกแต่มีข้อแม้ว่าหากพญาคันคากต้องการฝน เมื่อใดก็ให้บอกพญาแถนด้วยการจุดบั้งไฟขึ้นไปบนฟ้า หรืออีกตำนานที่เล่าว่าพระพรหมกับพญานาคเป็นเพื่อนรักกัน พระพรหมอยู่บนสวรรค์พญานาคอยู่ใต้บาดาล อยากจะรู้สารทุกข์สุขดิบกันก็ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงตกลงกันว่า เมื่อใดที่พญานาคอยู่ดีมีสุขให้พญานาคจุดบั้งไฟไปบอกข่าวและพระพรหมจะส่งฝน ตกลงมาบนพื้นโลกเป็นการตอบรับพญานาค ดังที่ได้กล่าวมา วัตถุประสงค์หลักของบุญบั้งไฟ ก็คือ "การขอฝน" เชื่อกันว่าหากท้องถิ่นใดละเลยไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ก็อาจจะก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่คนในชุมชน เว้นเสียแต่ต้องทำพิธีขอเลื่อนการจัดที่ศาลปู่ตา (ศาลผีบรรษพบุรุษหรือเทพารักษ์)ของหมู่บ้านเสียก่อน

ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของพิธีบุญบั้งไฟอีสานในอดีตจน กระทั่งปัจจุบันคือ การละเล่นที่มักเต็มไปด้วยสื่อสัญลักษณ์ทางเพศและเพศสัมพันธ์ เช่น อวัยวะเพศชาย (บักแป้น, ขุนเพ็ด) อวัยวะเพศหญิงจำลอง ตุ๊กตาชาย - หญิง ในท่าร่วมเพศ ตุ๊กตารูปสัตว์ (โดยมากมักจะทำเป็นรูปลิง) ในท่าร่วมเพศ รวมทั้งการแสดงออกของผู้คนในขณะร่วมงานบุญบั้งไฟนั้น เห็นได้ชัดว่ามีความเชื่อในเรื่องฟ้าดินโดยที่ฟ้าเป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย ดินเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างฟ้าดินคือฝนที่โปรยปรายลงมาสู่ดินก่อให้เกิดความเจริญ เติบโตงอกงามของพืชพันธุ์ธัญญาหารแก่โลกมนุษย์ เพื่อเป็นการเตือนฟ้าดินมิให้ลืมหน้าที่ มนุษย์จึงใช้อุบายคือ การละเล่นเกี่ยวกับเพศมาเป็นส่วนประกอบในงานบุญบั้งไฟ ทั้งนี้รวมไปถึงการใช้คำเซิ้งที่ใช้ในการ "เซิ้งบั้งไฟ" ที่มักมีคำหยาบปะปนอยู่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ซึ่งจะพบในงานบุญบั้งไฟทุกแห่ง อย่างไรก็ตาม การแสดงออกในสัญลักษณ์เชิงเพศที่ปรากฎในงานบุญบั้งไฟดูเหมือนจะถูกจำกัดลง เมื่อเทศกาลงานประเพณีดังกล่าวได้ถูกเปิดตัวสู่การกลายเป็นประเพณีเพื่อตอบ สนองต่อการท่องเที่ยว

นอกจากนี้ความน่าสนใจของเนื้อหาสาระของประเพณีบุญบั้งไฟ ยังอยู่ที่ภาพสะท้อนการผสมผสานระหว่างคติความเชื่อฝ่ายพุทธ กับแนวความคิดในแบบสังคมแบบพุทธกาล (ก่อนรับพุทธศาสนา) เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ แม้ว่าบุญบั้งไฟแต่เดิมอาจจะไม่ใช่ประเพณีในพระพุทธศาสนา แต่ทว่า ชาวไท - ลาว ได้ทำให้งานบุญนี้เลื่อนไหลเข้ามาอยู่ในบริบทของพุทธศาสนาอย่างชัดเจนมาก ขึ้น เช่น การเชิญมาร่วมงานก็ถือว่าเป็นการทำบุญ ตลอดจนมีตำนานที่เล่าถึงต้นกำเนิดของพิธีกรรมนี้ว่ามาจากการที่สาวกองค์ หนึ่งพุ่งคบเพลิงไปถวายพระเพลิงพระพุทธองค์เนื่องจากเข้าไม่ถึงที่ถวายพระ เพลิงศพ นอกจากนี้วัดยังเป็นแหล่งกลางของกิจกรรมในงานบุญ นับตั้งแต่การเตรียมบั้งไฟ ไปจนถึงการเล่นสนุก อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาแทรกเข้าไปเป็น ส่วนหนึ่งของบุญบั้งไฟหลายอย่างเช่น การบวชและการ "ฮดสงฆ์" หรืออภิเษกสมณศักดิ์ให้แก่พระภิกษุ เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาว่าบุญบั้งไฟเป็นประเพณีที่ทำกันทั้วไปในภาคอีสานปัจจุบัน

ปัจจุบันงานบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร มีกำหนดจัดขึ้นในช่วงราวกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยมีกิจกรรมหลักคือ บั้งไฟที่มีการประกวดประชัน บั้งไฟทั้งบั้งไฟขึ้นสูง บั้งไฟสวยงาม (บั้งเอ้หรือบั้งไฟประดับที่ไม่สามารถจุดได้จริง) บั้งไฟโบราณ นอกจากนี้ยังมีการประกวดกาพย์เซิ้งบั้งไฟ ประกวดธิดาบั้งไฟโก้ นักท่องเที่ยวสามารถชมขบวนแห่เหศักดิ์ ขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม ขบวนแห่บั้งไฟโบราณ ตลอดขบวนแห่มีการเซิ้งของแต่ละคุ้มวัดที่ส่งบั้งไฟเข้าประกวด ทั้งนี้งานบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร ได้รับการส่งเสริมได้รับการส่งเสริมในระดับที่มีการถ่ายทอดสดทางสถานี โทรทัศน์ ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมมหรสพรื่นเริง เช่น เวทีคอนเสิร์ต หมอลำ การจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และสินค้าทั้วไปบริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร และโรงเรียนเทศบาล 1 และสวนสนุกในลักษณะงานวัด อ้างอิง : www.tourismthai.org

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

The Royal Ploughing Ceremony

The Royal Ploughing Ceremony
Date :
13 May 2010
Venue : Phra Meru Ground (Sanam Luang), Bangkok

The Royal Ploughing Ceremony Day has existed for a long time to make moral supports to the grain foods and the rice farmers and to predict the weather conditions and the rice yields to be rolled out in the harvest season approaching.


Program on Thursday 13th May, 2010

07.30 am. :
- Arrival of the audiences
- The procession of Phraya Raek Na (Load of the Royal Ploughing Ceremory)
leaves the Grand Palace for the pavillion at the Phra Meru Ground (Sanam Luang)
08.30 am. :
- Arrival of Their Majesties the King and Queen
- The Royal Ploughing Ceremony
10.00 am. :
- End of the Ceremony

Contact:

- Tourism Division of the Bangkok Metropolitan Administration, Tel: 0 2225 7612-5
- TAT Tourist Hotline 1672
Ref. www.tourismthailand.org

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้นๆ ว่า พิธีแรกนา เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น

ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธานเหมือนกับสมัยกรุงสุโขทัย แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ และจะทรงจำศีลเงียบ 3 วัน ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการประกอบพระราชพิธีนี้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แต่ผู้ทำการแรกนาเปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพหลเทพคู่กันกับการยืนชิงช้า แต่พอถึงรัชกาลที่ 3 ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนาด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่าง ๆ ทุกพิธี ดังนั้น พระราชพิธีพืชมงคลจึงได้เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคล และบำรุงขวัญเกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชน คนไทย แต่ไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันพระราชพิธีอื่น ๆ ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหกหรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตาม ประเพณีก็ให้จัดขึ้นในวันนั้น

การจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้กระทำเต็มรูปบูรพประเพณีครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.2479 แล้วก็ว่างเว้นไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2503คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟื้นฟูพระราชประเพณีนี้ขึ้นใหม่และได้กระทำ ติดต่อกันมาทุกปีจนถึงปัจจุบันด้วยเห็นว่าเป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดี งาม มีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจของคนไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระประมุขปัจจุบันทรงมีพระราชกระแสให้ปรับ ปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัย และเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีนี้ทุกปีสืบมามิได้ขาด